สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ (Foreign Language Department)

สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ให้ความสำคัญด้านพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศจึงจัดการเรียนการสอนด้านภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว และภาษาอื่นๆ ในอนาคต นอกจากนี้สาขาวิชาภาษาต่างประเทศมีหน้าที่รับผิดชอบสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป (กลุ่มภาษาเพื่อการสื่อสาร) ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับ จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่

  1. รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication)
  2. รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (English for Cross-Cultural Communication)

ภายใต้สาขาวิชาภาษาต่างประเทศมีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับหลักสูตร จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ศศ.บ.ภาษาอังกฤษ)
  2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (ศศ.บ.ภาษาจีน)
  3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (ศศ.บ.ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ)

ข้อมูลหลักสูตรต่างๆ ในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

Bachelor of Arts Program in English

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน

Bachelor of Arts Program in Chinese

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

Bachelor of Arts Program in English for Business Communication

ติดต่อเรา

สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ อาคาร 19 ชั้น 1

โทร. 042970095

ความเป็นมาและรายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคลากรที่รู้เท่าทันเหตุการณ์ในสังคมที่เปลี่ยนแปลง มีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่เป็นระบบและสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความต้องการที่เหมาะสม หลักสูตร มีเป้าประสงค์ที่จะให้บัณฑิตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมโลก เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพทั้งต่อองค์กรและอาชีพอิสระตามความถนัดและความต้องการของบัณฑิต ดังนั้นหลักสูตรจึงได้กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนี้ บัณฑิตสามารถนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษและการแปลความ ตีความ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเองและสังคม สามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมทั้งจากประเทศเจ้าของภาษาและประเทศในภูมิภาคต่างๆ มาบูรณาการใช้กับประเด็นสังคมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีความยืดหยุ่นต่อวัฒนธรรมที่หลากหลายรวมถึงความเข้าใจในผู้อื่น นอกจากนี้บัณฑิตต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อแยกแยะและสังเคราะห์ความรู้เพื่อนำไปใช้ต่อยอดประกอบอาชีพได้ อย่างมีความรู้เท่าทันกับสถานการณ์สังคม สามารถนำความรู้ที่ได้จากทักษะการใช้เทคโนโลยีไปใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในภายภาคหน้าได้ 

ดังนั้นสาขาวิชาภาษาอังกฤษ  จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น โดยการกำหนดเนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชาและของมหาวิทยาลัยตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2560 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านภาษาจีน และมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมจีนควบคู่การเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะวิชาชีพที่ดีเป็นที่ยอมรับของสังคม

         เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เข้ามามีบทบาทในการทำความร่วมมือในด้านต่าง ๆ กับประเทศไทยทั้งด้านการค้า การลงทุน ธุรกิจการบริการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างไทย – จีน อีกทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีบทบาทสำคัญในกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ของโลก จึงเป็นแรงกระตุ้นและเกิดกระแสความนิยมในการเรียนภาษาจีนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารเพื่อทำความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและด้านอื่น ๆ กับสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ยังส่งผลถึงการศึกษาในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยได้ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในไทย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับอุดมศึกษา ดังนั้นภาษาจีนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

         ในปัจจุบันการพัฒนาศึกษาในด้านภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา เป็นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรทางด้านภาษาจีน เนื่องจากเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนและเขตจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ เป็นเขตพื้นที่ของผู้ใช้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทั้งนี้เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เริ่มมีการพัฒนาการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างไทย-จีนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น มีการพัฒนาเส้นทางในเขตชายแดน โดยเฉพาะการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนทางตอนใต้ได้ ทำให้เขตพื้นที่เหล่านี้กลายเป็นเขตยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้าและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาจีน หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในด้านภาษาจีนจึงเป็นที่ต้องการและมีอัตราการจ้างงาน ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสูงขึ้นเรื่อย ๆ

      ดังนั้นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาจีน มีศักยภาพในการประกอบอาชีพที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน บนพื้นฐานแห่งคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลที่ได้กล่าวในเบื้องต้น โดยกำหนดเนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาและของมหาวิทยาลัย ตามกรอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562

กรรมการบริหารหลักสูตรและคณาจารย์

ผลงานคณาจารย์สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ

ข้อมูลคณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้

  1. ชื่อ นางสาวบุญญิสา ภูบรรทัด
    Name Miss Bunyisa Phubuntad
  2. รายละเอียดวุฒิการศึกษา
    ระดับการศึกษา สถานศึกษา ปีที่จบ สาขา คะแนนเฉลี่ย
    ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2549 ภาษาไทย 3.46
    ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2553 หลักสูตรและการสอน 3.80
    ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุ

ษยศาสตร์ สังกัด
มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย

2559
–256
1
ภาษาศาสตร์
ภาษาเวียดนาม

3.46

  1. ความสนใจด้านวิชาการ
    มีความสนใจด้านภาษาศาสตร์และจิตตปัญญาศึกษา
  2. อีเมล์ supawadi3065@gmail.com
  3. ผลงานวิชาการ

5.1 ความเชี่ยวชาญ

5.2 รางวัลด้านการเรียนการสอน

5.3 ผลงานและงานวิจัยที่ได้รับรางวัล

5.4 บทความวิชาการ (บางส่วน)
บทความวิชาการเรื่อง วิธีการบอกเวลาในหนึ่งวัน

โดยไม่ใช้นาฬิกาในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม Cách thức chỉ thời gian trong một ngày mà không dùng
đồng hồ trong tiếng Thái Lan và tiếng Việt ปี 2561 นำเสนอในงานประชุมวิชาการนานาชาติ –
ภาษาศาสตร์เวียดนาม – เส้นทางการพัฒนาสู่สากล ณ Da Nang University of Education วันที่ 15 ธันวาคม
2561

บทความวิชาการเรื่อง วิธีการบอกจุดของเวลาในภาษาเวียดนาม Point of time in

Vietnamese นำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติ NC HUSOC RMU2022 ณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วันที่ 24 สิงหาคม 2565

ข้อมูลคณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้

  1. ชื่อ นายพงศธร ภาวะบุตร
    Name Mr. Pongsatorn Pawabutra
  2. รายละเอียดวุฒิการศึกษา
    ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ) มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่จบ 2558
    ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่จบ 2555
  3. ความสนใจด้านวิชาการ
  • ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (English for Specific Purposes: ESP) ภาษาอังกฤษ
  1. อีเมล์
  • pongsatorn@snru.ac.th
  1. ผลงานวิชาการ
    5.1 ความเชี่ยวชาญ
    5.2 รางวัลด้านการเรียนการสอน
    5.3 ผลงานและงานวิจัยที่ได้รับรางวัล
    5.4 บทความวิชาการ (บางส่วน)
    พงศธร ภาวะบุตร และจุฑามาศ ตังควานิช. (2560). การสํารวจความจําเป็นและปัญหาในการใช้
    ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน ท่าอากาศยานสกลนคร. ในการ
    ประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความร่วมมือวิชาวิชาการและวิจัยด้านมนุษยศาสตร์
    และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 1 วันที่ 25 สิงหาคม 2560 (น. 109-121). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
    สกลนคร.
    จุฑามาศ ตังควานิช และพงศธร ภาวะบุตร. (2562). รูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา
    ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ศึกษาในรายวิชา
    ภาษาอังกฤษสําหรับสื่อสารมวลชน. ในการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา
    ระดับชาติ ครั้งที่ 12 วันที่ 20 กรกฎาคม 2562 (น. 534-537). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
    อุดรธานี.
    Pongsatorn Pawabutra & Juthamas Tangkawanich. (2022). A Survey Study of the
    Needs, Problems, and Wants of Communicative Skills in English for Mass
    Media. The 1st International Conference on English Language Teaching
    “World Englishes in English Language Teaching in the Digital Age”, 1(1),

169-181. Retrieved from http://icon-elt-2022.bru.ac.th/wp-
content/uploads/2022/06/Full-Proceedings-ICON-2022.pdf